a

Lorem ipsum dolor amet, modus intellegebat duo dolorum graecis

Follow Us
  /  การศึกษา   /  ประโยชน์ของโรงเรียนอนุบาลสองภาษา

ประโยชน์ของโรงเรียนอนุบาลสองภาษา

เด็กๆ ที่เรียนรู้ภาษาที่สองในช่วงขวบปีแรกของพวกเขา เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาภาษาที่จะคงอยู่กับพวกเขาไปตลอดชีวิต จากการวิจัยเฉพาะทางด้านประสาทวิทยา และการพัฒนาสมองแสดงให้เห็นว่าเด็กเล็กเป็นอัจฉริยะในการเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ขวบปีแรกของชีวิต

ไม่มีอะไรจะอธิบายสิ่งนี้ได้ดีไปกว่าผลงานของศาสตราจารย์ Pat Levitt จากมหาวิทยาลัย Harvard ในเรื่องของการพัฒนาสมอง ศาสตราจารย์ Levitt และเพื่อนร่วมงานของเขาแสดงให้เห็นว่าอัตราการสร้างเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษานั้น มีอัตราสูงที่สุดในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต ดังกราฟต่อไปนี้:

การพัฒนาสมองของเด็ก โรงเรียนสองภาษา

การเรียนสองภาษาที่ Sprouts

ที่ Sprouts เราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สองภาษาอย่างเต็มที่เพื่อให้เด็กๆ เติบโตขึ้นโดยใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่วง่ายดายและมั่นใจ เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้เริ่มต้นความสามารถด้านภาษา การรับรู้ด้านภาษา และการรับรู้ด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย คุณครูของเราทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะทำงานและพูดคุยกับเด็กๆ ในภาษาแม่ของพวกเขาเอง (“หนึ่งคน – หนึ่งภาษา”)
ด้วยวิธีนี้เด็กๆ ทุกคนจะได้ซึมซับทั้งสองภาษาได้อย่างเต็มที่ ทั้งวันและในทุกๆ วัน เด็กๆ จะใช้ภาษาที่ตัวเองคุ้นเคยได้ดีขึ้น และได้เรียนรู้ภาษาที่ 2 อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินผ่านเสียงเพลง บทกวี การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ เกม และกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาภาษาอังกฤษและภาษาไทยโดยเฉพาะ เด็กๆ ที่ Sprouts จึงไม่จำเป็นต้องมีการเรียนภาษาเพิ่มเป็นพิเศษ

 

ประโยชน์ของการเรียนรู้ 2 ภาษาที่ Sprouts

  • เด็กๆ เรียนรู้ที่จะพูดสองภาษาไปพร้อมๆ กัน และสนุกสนานกับการเรียน
  • เด็กๆ มีการสร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเรียนรู้สำหรับทุกภาษาในอนาคต
  • เด็กๆ เรียนรู้ที่จะสลับใช้ระหว่างสองภาษาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางสติปัญญา
  • เด็กๆ เรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่า และให้ความสำคัญกับครูชาวไทยและชาวต่างชาติในฐานะที่เท่าเทียมกัน ซึ่งหมายความว่าพวกเขายังเรียนรู้ที่จะให้ความสำคัญกับนักเรียนคนอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย
    .

 

อัจฉริยะภาพทางภาษาของเด็กๆ

จากงานสัมมนา TED มีการพูดคุยที่น่าสนใจกับ Patricia Kuhl จากสถาบันสมองและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

 

Further Reading and Research: