a

Lorem ipsum dolor amet, modus intellegebat duo dolorum graecis

Follow Us
  /  Uncategorized @th   /  พัฒนาการ 8 ระยะ ตามทฤษฎีของอิริคสัน
Trust vs Mistrust

พัฒนาการ 8 ระยะ ตามทฤษฎีของอิริคสัน

ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงของอิริคสัน ในการพัฒนาด้านจิตสังคม ซึ่งมีทั้งหมด 8 ระยะที่บุคคลควรผ่านตั้งแต่แรกเกิดจนตาย

ในแต่ละระยะ เราจะพบกับความต้องการที่แตกต่างกัน ถามคำถามใหม่ๆ และพบปะผู้คนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และการเรียนรู้ของเรา คุณพ่อ คุณแม่และคุณครูที่ตระหนักถึงระยะต่างๆ อาจเข้าใจว่าทำไมการเล่น และแนวทางการเรียนรู้ทางสังคมมักประสบความสำเร็จมากในช่วงขวบปีแรกๆ ของชีวิต และนี่คือภาพรวมของ 5 ระยะแรก:

ในขณะที่เป็นทารก เราถามตัวเองว่า เราจะสามารถเชื่อมั่นในโลกได้หรือไม่ และเราสงสัยว่าจะปลอดภัยหรือไม่ เราเรียนรู้ว่า ถ้าเราสามารถเชื่อใจใครสักคนได้ในตอนนี้ เราก็สามารถที่จะไว้วางใจคนอื่นได้ในอนาคต หากเราพบกับความกลัว เราจะพัฒนาความสงสัยและความไม่ไว้วางใจ กุญแจสำคัญในพัฒนาการนี้ก็คือแม่ของเรา

 

sprouts

ในวัยเด็กของเรา เราสำรวจตัวเอง และค้นพบร่างกายของเรา เราถามว่า: เราเป็นตัวเองได้ไหม? หากเราได้รับอนุญาตให้ค้นหาตัวเอง เราจะพัฒนาความมั่นใจในตัวเอง แต่หากเราไม่ได้รับโอกาสนั้น เราก็จะพัฒนาความละอายใจและความสงสัยในตัวเอง ทั้งคุณพ่อและคุณมีบทบาทสำคัญในช่วงเวลานี้

 

 

 

ในโรงเรียนอนุบาล เราใช้ความคิดริเริ่ม ทดลองสิ่งใหม่ๆ และเรียนรู้หลักการพื้นฐาน เช่น ทำไมสิ่งของที่มีรูปร่างกลมถึงกลิ้งได้ เราถามว่า: ฉันจะทำสิ่งที่ฉันทำได้ใช่ไหม? หากเราได้รับการสนับสนุน เราจะสามารถทำตามความสนใจของเราได้ หากเราถูกยับยั้ง หรือบอกว่าสิ่งที่เราทำนั้นไร้สาระ เราก็จะพัฒนาความรู้สึกผิด ในตอนนี้เรากำลังเรียนรู้จากทั้งครอบครัว

 

Industry vs. Inferiority (ages 5-12)

ตอนนี้เราค้นพบความสนใจของเราเอง และตระหนักว่าเราแตกต่างจากผู้อื่น เราต้องการแสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องได้ เราถามว่า เราสามารถเป็นตัวเราในโลกนี้ได้หรือไม่? หากเราได้รับการยอมรับจากครูหรือเพื่อนๆ ของเรา เราก็จะขยันหมั่นเพียรซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งของการทำงานหนัก หากเราได้รับผลตอบรับเชิงลบมากเกินไป เราจะเริ่มรู้สึกแย่ และสูญเสียแรงจูงใจ ตอนนี้เพื่อน และโรงเรียนของเรามีอิทธิพลต่อเรามากที่สุด

 

Identity vs. Role Confusion (ages 13–19)

ในช่วงวัยรุ่น เราเรียนรู้ว่า เรามีบทบาททางสังคมที่แตกต่างกัน เราเป็นเพื่อน เป็นนักเรียน เป็นเด็ก และเป็นประชาชน หลายคนประสบกับวิกฤตอัตลักษณ์ หากผู้ปกครองของเราอนุญาตให้เราออกไปข้างนอก และสำรวจสิ่งต่างๆ เราก็จะสามารถค้นหาตัวตนของตัวเองได้ หากพวกเขาพยายามให้เราเป็นในสิ่งที่พวกเขาคิด เราอาจเผชิญกับความสับสนในบทบาทของตัวเองและรู้สึกหลงทาง กุญแจสู่การเรียนรู้ของเราคือเพื่อนและบุคคลต้นแบบของเรา

 

อิริค อิริคสันเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เชื้อสายเยอรมัน-อเมริกัน ที่ทำงานร่วมกับโจแอนภรรยาของเขา ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในฐานะนักพัฒนาจิตสังคม เขาได้รับอิทธิพลจาก ซิกมันด์และแอนนา ฟรอยด์ และมีชื่อเสียงในการเป็นเจ้าของวลี “วิกฤตอัตลักษณ์” แม้ว่า อิริคสันจะไม่จบปริญญาตรี แต่เขาก็รับตำแหน่งศาสตราจารย์ทั้งที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเยล

 

ดูวีดีโอจาก Sprouts เกี่ยวกับพัฒนาการทั้ง 8 ระยะ: