a

Lorem ipsum dolor amet, modus intellegebat duo dolorum graecis

Follow Us
  /  การศึกษา   /  วันแรกที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือเนอสเซอรี่แห่งใหม่

วันแรกที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กหรือเนอสเซอรี่แห่งใหม่

 

ความผูกพันของเด็กๆ ที่มีต่อคุณแม่หรือคุณพ่อนั้นส่งผลสำคัญต่อความเป็นอยู่และพัฒนาการของพวกเขาเป็นอย่างมาก เมื่อลูกถึงวัยที่ต้องไปเนอสเซอรี่ หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียนอนุบาล เราควรให้ความสำคัญกับความผูกพันนั้น เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้อย่างดี และไม่มีความเครียดทางจิตใจมากเกินไป เพื่อให้การปรับตัวเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Sprouts และโรงเรียนอนุบาลในประเทศเยอรมันหลายแห่งได้ทำตาม แบบจำลองของมิวนิค (Münchener Eingewöhnungsmodell) ซึ่งมีเป้าหมายให้ เด็กๆ มีความเข้าใจว่าคุณแม่จะกลับมารับเมื่อถึงเวลา และพัฒนาความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กกับครูผู้สอนโดยเฉพาะ

 

ภูมิหลัง:
แบบจำลองของมิวนิคได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการวิจัยของศาสตราจารย์ E. Beller จากมหาวิทยาลัย Freien Berlin ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนผ่านที่นุ่มนวลนั้น จะป่วยบ่อยกว่าถึง 4 เท่า และมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กๆ คนอื่นอีกด้วย.

 

แนวทางของแบบจำลองมิวนิกที่ Sprouts :

  • หลักสำคัญของแบบจำลอง คือการที่เด็กๆ จะได้อยู่กับคุณแม่ (หรือผู้ปกครอง) ในช่วง 10 วันแรก
  • ใน 3 วันแรกของช่วงเวลาดังกล่าว คุณแม่และลูกจะใช้เวลาอยู่ด้วยกันตลอดที่โรงเรียนอนุบาล แล้วกลับบ้านด้วยกัน (วันแรกหนึ่งชั่วโมง วันต่อมาสอง 2 ชั่วโมง และวันต่อมา 4 ชั่วโมง) คุณแม่ไม่ต้องเข้าร่วมการเล่น เพียงแต่นั่งสังเกตุการณ์ หรือทำอย่างอื่น
  • ในวันที่ 4 คุณแม่จะปล่อยให้เด็กอยู่กับคุณครูเป็นครั้งแรก โดยปกติจะใช้เวลาครั้งละเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น แล้วคุณแม่ก็จะพาลูกกลับบ้านด้วยกัน
  • ในวันที่ 5-10 คุณแม่ยังคงอยู่ที่โรงเรียนอนุบาล แต่จะเริ่มปล่อยให้ลูกอยู่กับคุณครูนานขึ้น เริ่มจากครั้งแรกเพียง 15 นาที ต่อมาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง หรือมากกว่านั้น (ออกไปพักดื่มกาแฟ)
  • เมื่อเด็กๆ เริ่มมีความผูกพันกับคุณครูแล้วเด็กจะสามารถอยู่กับคุณครูได้ตลอดทั้งวัน โดยเฉลี่ยกระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน
  • ในช่วงแรกนี้เด็กๆ จะอยู่จนถึงช่วงเวลาอาหารกลางวันเท่านั้น ไม่มีการนอนกลางวัน

 

การสนับสนุนกระบวนการนี้ :

  • คุณแม่ (หรือผู้ปกครอง) ควรพูดอย่างชัดเจนว่า “ไปแล้วนะ” ผ่านการกอด หรือจูบเมื่อจะจากไป เพื่อให้เด็กๆ เข้าใจว่าพวกเขาจะต้องอยู่กับคุณครูในช่วงเวลานี้
  • หากเด็กไม่สามารถหยุดร้องไห้ได้ คุณแม่จะต้องกลับมาอยู่กับลูก
  • คุณครูจะต้องเป็นคนเดียวกันตลอดทั้งกระบวนการนี้
  • เด็กอาจต้องการนำของเล่น หรือตุ๊กตาที่ชอบมาจากบ้าน

 

สัญญาณที่แสดงว่ากระบวนการปรับตัวได้ผล :

  • เด็กร้องไห้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เมื่ออยู่ที่โรงเรียนโดยไม่มีคุณแม่
  • เด็กสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครูผู้สอน
  • ในตอนท้ายของกระบวนการปรับตัว เด็กๆ จะอยากมาที่ Sprouts

 

ดูวิดีโอเกี่ยวกับทฤษฎีความผูกพันธ์ของ Sprouts:

 

อ่านเพิ่มเติม:

แนวทางของ Münchner Model (ภาษาเยอรมัน)