a

Lorem ipsum dolor amet, modus intellegebat duo dolorum graecis

Follow Us
  /  การศึกษา   /  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการบริหารจัดการชีวิต

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการบริหารจัดการชีวิต

ทักษะการบริหารจัดการชีวิต (EF) เป็นกระบวนการทางความคิดที่ช่วยให้เราสามารถวางแผน มุ่งเน้นความสนใจ จดจำคำแนะนำ และทำกิจกรรมหลายอย่างสำเร็จได้ในเวลาเดียวกัน เราสามารถแยกความแตกต่างได้เป็น 3 องค์ประกอบ: ความจำเพื่อนำมาใช้งาน, การยับยั้งชั่งใจ และความยืดหยุ่นทางความคิด ทั้ง 3 สิ่งนี้เชื่อมโยงกันและมีอิทธิพลต่อกัน เนื่องจากทักษะทางความคิดเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาส่วนใหญ่ในช่วง 5 ขวบปีแรกของชีวิต คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองและครูสามารถช่วยสนับสนุนการพัฒนาเหล่านี้ได้

 

ทักษะการบริหารจัดการชีวิตคืออะไร?

Deborah Phillips นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์เรียกมันว่า “ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ” ในสมองของเรา เช่นเดียวกับระบบควบคุมการจราจรทางอากาศในการจัดการเครื่องบินจำนวนมากที่จะออกเดินทางและลงจอดในเวลาที่เหมาะสม เราจำเป็นต้องจัดการข้อมูลจำนวนมาก และการรบกวนต่างๆ ในเวลาเดียวกัน หากไม่มีทักษะทางการคิดที่ดีก็อาจจะเกิดหายนะขึ้นได้ ทักษะดังกล่าวมีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน 3 อย่างดังต่อไปนี้:

 

ความจำเพื่อนำมาใช้งาน

ความจำเพื่อนำมาใช้งาน มีหน้าที่รับผิดชอบในการประมวลผลข้อมูล หากมีพัฒนาการที่ดีก็จะช่วยให้เราจัดการข้อมูลหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน สามารถแก้ไขงานที่ซับซ้อนได้ และเข้าใจแนวคิดที่ลึกซึ้ง หากไม่มีความจำเพื่นำมาใช้งานที่แข็งแรงพอ ก็จะทำให้ความสามารถทางสติปัญญาถูกจำกัดได้

 

การยับยั้งชั่งใจ

การยับยั้งชั่งใจนั้นคือความสามารถของเราในการมีสติ การควบคุมอารมณ์ และการควบคุมพฤติกรรมของตัวเราเองในสถานการณ์ที่ตึงเครียด ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญ หากเราต้องการเปลี่ยนนิสัยในวัยเด็ก หากไม่มีทักษะนี้ เราอาจมีปัญหาในการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง และอาจถูกมองว่า “เป็นคนแปลก”

 

ความยืดหยุ่นทางความคิด

ความยืดหยุ่นทางความคิด คือความสามารถในการเข้าใจสิ่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนมุมมองของเราได้ หากเรามีทักษะด้านนี้น้อย จะทำให้เราติดอยู่ในความคิดเก่าๆ และมีวิสัยทัศน์แคบ กลายเป็นคนดื้อรั้นและไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับผู้อื่น

 

จะสนับสนุนการพัฒนาทักษะนี้ได้อย่างไร?

เนื่องจากทักษะการบริหารจัดการชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกพัฒนาในช่วง 5 ขวบปีแรกของชีวิต การดูแล การเล่น และการเลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่ในวัยเด็กจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มทักษะทางความคิดเหล่านี้ การเล่นอย่างอิสระจะฝึกฝนการควบคุมการยับยั้งชั่งใจ และการเล่นเกมจะฝึกความจำเพื่อนำมาใช้งานของเรา ส่วนการเล่นเครื่องดนตรีจะฝึกสมองเพื่อประมวลผลตัวโน้ต และการประสานงานระหว่างมือขวาและมือซ้ายไปพร้อมๆ กัน การพูดหรือเล่นกับผู้อื่น เป็นการเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ การออกกำลังกายก็มีประโยชน์มากเช่นกัน ในการเล่นฟุตบอล ผู้เล่นจะได้เจอสถานการณ์ใหม่ตลอดเวลา การจะครอบครองบอลต้องใช้การตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นทางปัญญาขึ้น จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า เด็กๆ ที่เดินเท้าเปล่าในแต่ละวันเพียงแค่ 16 นาทีสามารถพัฒนาส่วนความจำเพื่อนำมาใช้งานของพวกเขาได้ เนื่องจากในขณะที่เขาเดิน เขาจำเป็นต้องคิดถึงหลายๆ สิ่งในใจภายในเวลาเดียวกัน

 

ดูวีดีโอของ Sprouts:

 

ที่มา:

Harvard Center of the Developing Child